ข้ามไปเนื้อหา

ชรินรัตน์ พุทธปวน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชรินรัตน์ พุทธปวน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
สาคร พุทธปวน

21 สิงหาคม พ.ศ. 2496 (70 ปี)
อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
ศาสนาคริสต์
พรรคการเมืองพลังธรรม (2531–2538)
ประชาธิปัตย์ (2538–2543)
ไทยรักไทย (2543–2549)
ชาติไทย (2550–2551)
รักษ์สันติ (2554)

รองศาสตราจารย์ ชรินรัตน์ พุทธปวน (เกิด 21 สิงหาคม พ.ศ. 2496) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่

ประวัติ[แก้]

เกิดวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2496 เป็นบุตรของพ่อหลวงอินสนธิ์ กับแม่แปง พุทธปวน เป็นชาวจังหวัดลำพูนโดยกำเนิด

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการพยาบาล จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2518 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการบริหารการพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2522) และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ในปี พ.ศ. 2533

ในระหว่างศึกษาที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภานักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปีการศึกษา 2516 และเป็นนายกสโมสรนักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปีการศึกษา 2517

การทำงาน[แก้]

ดร.ชรินรัตน์ พุทธปวน เริ่มทำงานในภาควิชาการพยาบาลพื้นฐาน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเจริญก้าวหน้าเรื่อยมา จนดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ภาควิชาบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากนั้นจึงหันเข้ามาสู่วงการการเมืองโดยลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้งวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2535 ในนามพรรคพลังธรรม ต่อมาจึงย้ายมาสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ การเลือกตั้ง พ.ศ. 2539[1] จากนั้นการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2544 จึงย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย แต่เนื่องจากพื้นที่ทับซ้อนกับนายปกรณ์ บูรณุปกรณ์ จึงได้ย้ายมาสมัครในแบบบัญชีรายชื่อ และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (สมศักดิ์ เทพสุทิน)[2]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2550 ดร.ชรินรัตน์ พุทธปวน ได้ลงสมัครในนามพรรคชาติไทย หมายเลข 1 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง [3] จากนั้นในปี พ.ศ. 2551 จึงได้เข้ารับตำแหน่งผู้ช่วยอธิการบดี และรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยคริสเตียน กระทั่งปี พ.ศ. 2552 จึงเข้าทำงานเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรครักษ์สันติ ซึ่งนำโดย ร้อยตำรวจเอก ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ และลงสมัคร ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 6[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 และเป็นผู้ก่อตั้งชมรมจิตอาสาพัฒนาประเทศไทย จนขยายตัวและยกฐานะเป็นสมาคมจิตอาสาพัฒนาประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2555 โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ชรินรัตน์ เป็นนายกสมาคม[5]

ในปี พ.ศ. 2556 รศ.ดร.ชรินรัตน์ ได้ก่อตั้งและเป็นผู้รับใบอนุญาต วิทยาลัยเทคโนโลยีชรินรัตน์ลำพูน โดยเปิดการเรียนการสอนปีแรก ใน ปีการศึกษา 2557


ในปี พ.ศ. 2563 รศ.ดร.ชรินรัตน์ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน[6] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "จากเว็บไซต์ข้อมูลการเลือกตั้งกรมการปกครอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-09-28. สืบค้นเมื่อ 2011-03-18.
  2. คำสั่งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่ 21/2548 เรื่อง แต่งตั้งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
  3. ชรินรัตน์ ขอปักธง เขต 1 เชียงใหม่[ลิงก์เสีย]
  4. "เปิด64รายชื่อปาร์ตี้ลิสต์"พรรครักษ์สันติ"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-23. สืบค้นเมื่อ 2011-05-20.
  5. ประกาศนายทะเบียนสมาคมประจำกรุงเทพมหานคร เรื่อง จดทะเบียนจัดตั้งสมาคม (สมาคมจิตอาสาพัฒนาประเทศไทย)
  6. โฟกัสสนามภาคเหนือ 'อบจ.ลำพูน' 5 คนเดินหน้าหาเสียงชิงชัยโค้งสุดท้าย
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๒๔, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒